ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกสังคมของพรชนิตว์ค่ะ

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
    การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ...อ่านเพิ่มเติม



การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

     ไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548...อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษยชน

  สิทธิมนุษยชน
      สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการ...อ่านเพิ่มเติม



องค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในด้านสิทธิมนุษยชน
  
องค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่มีต่อประเทศไทย
     1.  คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(The United Nations Human Rights Council)
ได้ก่อตั้งขึ้นแทนที่คณะกรรมาธิการการสิทธิมนุษย์ชนแห่งสหประชาชาติ(Un  commission  for human  rights) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด  47  ประเทศ  วัตถุประสงค์ขององค์กรคือ การพัฒนากลไกสิทธิมนุษยชนเป็น...อ่านเพิ่มเติม



หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
1.  ชื่อบุคคล  เป็นเครื่องบ่งชี้เฉพาะบุคคล  ประกอบด้วยชื่อตัว  ชื่อรอง  และชื่อสกุล (แต่คนไทยไม่นิยมใช้ชื่อรอง)...อ่านเพิ่มเติม



ข้อตกลงระหว่างประเทศ
  
       คำนิยามของคำว่า  ข้อตกลงระหว่างประเทศ  กับ  สนธิสัญญา  ทั้งสองคำนี้มีความหมายคล้ายคลึงกัน  แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อแตกต่างกันอยู่   ในประเด็นข้อกฏหมายต่างๆ  ดังจะกล่าวต่อไปนี้...อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 : การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐ

    “รัฐ” หมายถึง “ประชากรที่มาอยู่รวมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่งทั้งชายและหญิง เป็นระยะเวลาอันยาวนาน รวมตัวกันเข้าเป็นสังคม มีความเป็นปึกแผ่น อยู่ในอาณาเขตที่แน่นอน...อ่านเพิ่มเติม


การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
      ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตย โดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไข...อ่านเพิ่มเติม




หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลเมืองดี

พลเมืองดี
       
    พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติ ตนได้อย่าง...อ่านเพิ่มเติม



คุณลักษณะของพลเมืองดี
    
     คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้...อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม

วัฒนธรรมไทย
      วัฒนธรรมไทย   หมายถึง  วิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย  ซึ่งเป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงานและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ  ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้  เข้าใจ  ซาบซึ้ง  ยอมรับ  และใช้...อ่านเพิ่มเติม





ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ  ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  หรือบริบทของสังคมนั้นๆ  แต่...อ่านเพิ่มเติม







หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนเเปลงเเละการพัฒนาทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
      สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบ...อ่านเพิ่มเติม


ปัญหาสังคม
     ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น...อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สังคม

โครงสร้างทางสังคม

     สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมทั่วไปในเรื่องของกลุ่มสังคมและสถาบันสังคม การที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ...อ่านเพิ่มเติม


การขัดเกลาทางสังคม
     การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง  กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์   ระเบียบปฏิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ  การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่...อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

สังคม

โครงสร้างสังคม
    หมายถึง ส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุกๆสังคม แม้ว่ามีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม

ลักษณะของโครงสร้างสังคม
1.มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม
2.มีแนวปฏิบัติอย่างเหมาะสม
3.มีจุดหมายในการทำกิจกรรมต่างๆ
4.มีการเปลี่ยนแปลงได้

องค์ประกอบของโครงสร้างสังคม
1.กลุ่มสังคม (Social Groups) หมายถึงกลุ่มบุคคลที่สมาชิกในกลุ่มติดต่อสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบแบบแผน และเป็นที่ยอมรับ
2.สถาบันสังคม (Social Institution)  หมายถึงรูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม  เพื่อสนองความต้องการร่วมกันในด้านต่างๆ และเพื่อความคงอยู่ของสังคมโดยส่วนรวม

การจัดระเบียบทางสังคม
   หมายถึง การทำให้สังคมเกิดความมีระเบียบเรียบร้อย  มีความมั่นคง และสามชิกของสังคมสามารถใช้ชีวิตของตนอยู่อย่างสงบ

บรรทัดฐานทางสังคม
   หมายถึง กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติ

-ประเภทของบรรทัดฐานสังคม
1. วิธีชาวบ้านหรือวิถีประชา หมายถึงแนวทางการประพฤติปฎิบัติต่างๆ ที่กระทำอยู่เป็นประจำจนเกิดความเคยชิน
2. จารีต  หมายถึง  แนวทางการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวกับระบบศีลธรรมและสวัสดิภาพของสังคม 
3. กฎหมาย  หมายถึง  ระเบียบ  กฎเกณฑ์  ข้อบังคับของรัฐที่ตราขึ้น  โดยมีผู้มีอำนาจรัฐหรือตราขึ้นจากเจตนารมณ์ของคนในรัฐ  

สถานภาพทางสังคม
     หมายถึงตำแหน่งบุคคลจากการเป็นสมาชิกและสังคม  ซึ่งเป็นองค์ประกบการจัดระเบียบสังคม

-ประเภทของสถานภาพทางสังคม
1. สถานภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิด  (Ascribed  Status)  เช่น   เพศ   อายุ เชื้อชาติ 
2. สถานภาพที่ได้รับมาภายหลัง  (Achieved  Status)  เช่น สถานภาพการสมรส    สถานภาพทางการศึกษา    สถานภาพทางอาชีพ   สถานภาพทางการเมือง

บทบาททางสังคม
     หมายถึง สถานภาพทางสังคมเป็นตำแหน่งซึ่งกำหนดสิทธิผู้ที่ดำรงสถานภาพนั้น

การควบคุมทางสังคม
   หมายถึงกระบวนการต่างๆทางสังคมที่มุ่งหมายให้สมาชิกสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานสังคม

การขัดเกลาทางสังคม
     หมายถึง  กระบวนการเรียนรู้และซึมซับบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม

 -ปะเภทของการขัดเกลาทางสังคม
1.การขัดเกลาขั้นปฐมภูมิ
2.การขัดเกลาขั้นทุติยภูมิ

-การขัดเกลาทางสังคม
1.ขัดเกลาทางอ้อม
2.ขัดเกลาทางตรง

ลักษณะของสังคมไทย
ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย
-สังคมไทยเคารพและเทิดทูนพระมหากษัตริย์
-สังคมไทยเป็นสังคมส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
-สังคมไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นวิถีชีวิตร่วมกันของคนในสังคม
-สังคมไทยมีค่านิยมทางสังคมร่วมกัน
-สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม
-สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวมๆ
-สังคมไทยมีการแบ่งชนชั้น

สถาบันสังคมไทย
-สถาบันครอบครัว
   1.ครอบครัวใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว
   2.ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว
   3.ให้ความสำคัญกับผู้มีความอาวุโส
-สถาบันการศึกษา  จะมีการจัดการศึกษาที่มีระบบแบบแผน
-สถาบันศาสนา  เกี่ยวกับ ความเชื่อ พิธีกรรม  ที่พึ่งทางจิตใจแก่มนุษย์
สถาบันเศรษฐกิจ  สังคมไทยแบบเปิดตามหลักเศรษฐกิจแบบเสรีภาพ
   1.ด้านเกษตรกรรม
   2.ด้านอุตสาหกรรม
   3.ด้านการบริการ
   4.ด้านหัตถกรรม
-สถาบันการเมืองการปกครอง  สังคมไทยมีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข